วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คู่แข่ง

            



               Nike กับ Adidas นั้นแตกต่างกัน Adidas มีเทคโนโลยีในเรื่องของการผลิตรองเท้ากีฬาสูงมากอาจจะเรียกได้ว่าสูงกว่า Nike ก็ได้แต่ทำไม Nike ประสบความสำเร็จมากกว่า Adidas ก็เพราะว่าไนกี้เปลี่ยนรองเท้ากีฬาให้เป็นรองเท้าแฟชั่นถ้าเป็นรองเท้ากีฬา คนที่สวมก็คือนักกีฬาแต่ว่าเป็นรองเท้าแฟชั่นนั้น เราใส่กันได้ ใครๆ ก็ใส่ได้ตลาดเป้าหมายก็ใหญ่กว่าเดิมมาก ไนกี้จึงคอนโทรลส่วนแบ่งการตลาดสูงมาก ไนกี้ผลิตรองเท้าเพื้อตอบสนองความต้องการที่มีลักษณะจำเพาะของนักกีฬาแต่ละประเภทในยุคต้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเรื่องกลศาสตร์ทางชีวภาพ สรีระทางการออกกำลังกาย วิศวกรเชิงอุตสาหกรรม ทำให้ไนกี้เป็นองค์กรที่มีทีมงานมากมายแต่จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ไนกี้ประสบความสำเร็จก็คือ “การทำรองเท้ากีฬาให้เป็นรองเท้าแฟชั่น” ในระยะหลังนี้ อาดิดาสเองก็ปรับให้รองเท้าอาดิดาสสามารถเป็นรองเท้าที่คนทั่วไปใส่ได้ด้วย ไนกี้เดิมทีครองตลาดอเมริกา ซึ่งไม่สนใจกีฬาฟุตบอล และตลาดแถบนั้น ส่วนอาดิดาสได้ตลาดยุโรป ปูม่าได้ตลาดอเมริกาใต้ส่วนหนึ่ง ส่วนทั่วโลกก็แบ่งๆกันไป ต่อมาในยุค 90 เมื่อไนกี้ มุ่งหน้าเข้าหาธุรกิจนี้อย่างจริงจัง ไนกี้เริ่มจากเจาะตลาดอเมริกาใต้ และด้วยปัจจัยต่างๆด้วยเฉพาะเงินทุน ไนกี้ยึดอเมริกาใต้อย่างไม่ยาก ทำให้ปูม่าเจ้าถื่นเดิมแทบหมดสภาพ เพราะจะกลับมายุโรปก็ไม่ทันเพราะเดียดอร่ากับอาดิดาสยึดไว้อยู่ เดียดอร่าทำท่าจะมาอยู่พักหนึ่งในช่วงกลางยุค 90 และเมื่อไนกี้บุกยุโรปเข้าจริงๆ พวกเขาก็เป็นเหยื่อรายแรกที่เสียตลาดไป อาดิดาสเองก็เจาะตลาดอเมริกาไม่เข้า จนต้องร่วมมือกับ เดวิท แบ๊คแฮม ยุให้ไปเตะบอลที่อเมริกาพอได้ส่วนแบ่งการตลาดมาบ้าง และพยายามยึดฐานที่มั่นยุโรปเอาไว้อย่างเหนียวแน่น อาดิดาสมีจุดแข็งที่มีคอนเน็คชั่นกับคณะกรรมการทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลรายใหญ่ๆ (ที่ส่วนใหญ่จะเป็นคนยุโรป) ไม่ว่าจะเป็นฟุตบอลยุโรปหรือฟุตบอลโลก พวกเขาจะได้เป็นสปอนเซอร์หลักเสมอ ในขณะที่ไนกี้ มุ่งไปทางสนับสนุนทีมชาติตัวเก็งแชมป์ เช่น บราซิล
             
              อาดิดาสและไนกี้ หวังครองใจวัยโจ๋ ยุคนี้ กับคิวลอนซ์สินค้าในเวลาไล่เรี่ยกัน ที่ว่ากันว่า กำลังซื้อมาจากอารมณ์ (Emotinal) และไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ในงานปาร์ตี้สุดชิค "Celebrate Originality" ผู้บริหารอาดิดาส ออริจินัลส์ ต้นตำรับของเสื้อผ้าแนวแฟชันแบบ Heritage

               นายคันนัน โกพาลากริชนัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด บอกว่า ทิศทางการตลาดของอาดิดาส ต่อจากนี้เลือกใช้กลยุทธ์ Emotional Marketing คือ ให้ข้อมูลสินค้าในด้านแนวคิด ที่มา และความมีสไตล์ของตัวสินค้าเอง ที่มีเรื่องราวและแรงบันดาลใจที่น่าสนใจ รวมทั้งบางรุ่นยังได้บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ศิลปินดารานักร้องและคนดังในหลากหลายวงการของโลกมาร่วมออกแบบด้วย ลูกค้าของอาดิดาส ออริจินัลส์ จะได้ร่วมรับรู้ถึงเรื่องราวความประทับใจในตัวสินค้าอย่างลึกซึ้ง ควบคู่ไปกับดีไซน์อันมีเอกลักษณ์และสัมผัสได้ถึงความใส่ใจกับทุก ๆ รายละเอียดของสินค้า ที่สำคัญแต่ละคอลเลคชันมีความพิเศษตรงที่มีเพียงไม่กี่ชิ้นในโลกเท่านั้น (Limited Edition)


สโลแกน

Just do it ปะทะ Impossible is Nothing 



           "แค่ทำมัน" กับ "ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้" เป็น 2 สโลแกนที่ไนกี้และอาดิดาสนำมาใช้อธิบายตัวตนและสถานะทางการตลาดของแบรนด์ทั้งสอง โดยไนกี้เริ่มใช้ Just do it ครั้งแรกเมื่อปี 2531 ส่วนอาดิดาสใช้ Impossible is Nothing เมื่อไม่นานมานี้ โดยเรื่องนี้ เบน ริชาร์ดสัน นักข่าวจากบีบีซีกล่าวในบทวิเคราะห์ธุรกิจเมื่อไม่นานมานี้ว่า สำหรับไนกี้แล้ว สิ่งที่เป็นปัจจัยท้าทายหลักสำหรับแบรนด์นี้คือราคาสินค้าและเครือข่ายกระจายสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ไนกี้ แต่สำหรับอาดิดาสซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและราคาเหมาะสม แต่เมื่ออาดิดาสได้ออกแคมเปญ "Impossible is Nothing" โดยให้นักกีฬาชื่อดังไม่ว่าจะเป็น เดวิด เบ็กแฮม ลีโอเนส เมสซี่ กิลเบิร์ต อรีนาส และเยเลนา อิสอินบาเยวา ออกมาเล่าเรื่องราวกว่าจะเป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงของแต่ละคน ว่าไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ เพราะกว่าที่แต่ละคนจะขึ้นมามีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมของผู้คนทั่วโลก ต่างต้องเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคนานาประการ เพื่อฝ่าฟันให้ตัวเองก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งในกีฬาแต่ละประเภทได้

              ขณะที่การใช้แคมเปญ "Just do it" เป็นการกระตุ้นให้ผู้คนเห็นว่า เพียงแค่เริ่มต้นทำมัน ทุกอย่างก็จะประสบความสำเร็จได้ โดยจุดเริ่มต้นของสโลแกนประโยคนี้มาจากประโยคเต็มๆ ที่ผู้ผลิตโฆษณาให้ไนกี้ แดน เวนเดน มักจะกล่าวว่า "You Nike guys, you just do it"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น