วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556


NIKE Run


NIKE Run


NIKE Run



NIKE Football


NIKE Football



NIKE Football



NIKE Football



NIKE Football


NIKE Basketball


NIKE Basketball


Nike Basketball


NIKE Basketball


                                             
                                              
                                              
                                              

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

กลยุทธ์ระดับโลกเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน


              ไนกี้ เผยแพร่รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งชี้แจงความคืบหน้าและความท้าทายในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทและเป้าหมายเพื่อส่วนรวม
              ไนกี้ อิงค์ (NIKE, Inc.) (NYSE:NKE) เผยแพร่รายงานความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม (Corporate Responsibility: CR) ประจำปี 2550 — 2552 ซึ่งกล่าวถึงวิวัฒนาการของกลยุทธ์ CR ของบริษัทตั้งแต่การบริหารจัดการความเสี่ยง งานด้านการกุศล และรูปแบบการดำเนินงานตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนทางจริยธรรมของสังคม ไปจนถึงกลยุทธ์ระยะยาวซึ่งมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรม การให้ความร่วมมือ การดำเนินงานอย่างโปร่งใส และการสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้บริษัทก้าวไปข้างหน้าในวิถีทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
              ไนกี้ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ Sustainable Business and Innovation (SB&I) ด้วยการสร้างสรรค์วิธีการที่มีความยั่งยืนมากขึ้น เพื่อนำมาซึ่งผลตอบแทนสู่ธุรกิจ ชุมชน พนักงานในโรงงาน ผู้บริโภค และโลก
              รายงานฉบับนี้ยังได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินงานของไนกี้เพื่อบรรลุเป้าหมาย CR ระยะ 5 ปี และการทบทวนภารกิจด้าน CR ของไนกี้ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอย่างครอบคลุม
              “ความยั่งยืนเป็นกุญแจสู่การเติบโตและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของไนกี้” มาร์ก พาร์กเกอร์ ประธานและซีอีโอของไนกี้ อิงค์ กล่าว “การทำให้ธุรกิจของเรามีความยั่งยืนมากขึ้นนั้น จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคของเราซึ่งคาดหวังว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่พนักงานที่โรงงานก็จะได้รับประโยชน์จากการผลิตแบบยั่งยืน ส่วนพนักงานและผู้ถือหุ้นของเราจะได้รับผลตอบแทนจากการที่บริษัทได้เริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตแต่เนิ่นๆ”
               นอกจากนี้ ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบจากทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง และความจำเป็นที่จะช่วยกันทำให้เศรษฐกิจปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้น้อยที่สุด ไนกี้จึงหวังที่จะใช้รายงานฉบับนี้เพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์ของบริษัทในการดำเนินธุรกิจแบบ closed-loop ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทำให้ซัพพลายเชนปลอดจากขยะโดยสิ้นเชิง รวมถึงมีผลิตภัณฑ์และวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ทำให้เกิดขยะทั้งก่อนและหลังการใช้ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนกระบวนการและรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
            “ไนกี้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด” ฮันนาห์ โจนส์ รองประธานฝ่าย SB&I กล่าว “ปัจจุบัน ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจกำลังส่งผลต่อแรงงาน เยาวชน ซัพพลายเชน และผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและโปร่งใส ทำให้ไนกี้มีโอกาสที่จะใช้นวัตกรรมที่มีอยู่เพื่อแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนเหล่านี้”
             รายงานฉบับนี้เป็นการแถลงความคืบหน้าของเป้าหมายระยะ 5 ปีซึ่งไนกี้ได้กำหนดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2550 บริษัทสามารถดำเนินการรุดหน้าในหลายด้าน อาทิ การฝึกอบรมการใช้หลัก Lean และ Human Resource Management ในโรงงาน ตลอดจนการลดขยะและสารพิษ และเพิ่มการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Considered Design ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
             รายงานยังได้เปิดเผยความคืบหน้าของเป้าหมายอื่นๆที่เผชิญความท้าทายเพิ่มมากขึ้น อาทิ การบริหารชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาของโรงงานต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ไนกี้ยังได้แก้ไขหรือชี้แจงเป้าหมายบางประการให้มีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทมีความเข้าใจในปัญหาเพิ่มขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์
          สรุปโครงการริเริ่มที่สำคัญๆของบริษัทภายใต้แผนกลยุทธ์ CR ได้แก่
1. Considered Design
       Considered Design คือการนำหลักการเพื่อความยั่งยืนมาใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์นักกีฬา ด้วยการลดหรือกำจัดมลพิษและขยะ และเพิ่มการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
2. GreenXchange (GX)
       GX คือตลาดออนไลน์สำหรับแลกเปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนรูปแบบใหม่ๆ ผู้ใช้ระบบ GX จะสามารถแบ่งกันใช้ทรัพย์สินทางปัญญาได้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างไร้ขีดจำกัดเพื่อขจัดอุปสรรคขัดขวางความยั่งยืนต่างๆ GX มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการพัฒนานวัตกรรมสีเขียว ด้วยการทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เคยเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละบุคคลมีความเป็นสาธารณะมากขึ้น
3. Lean และ Human Resource Management (HRM)
       ไนกี้ได้ร่วมมือกับโรงงานต่างๆในการฝึกอบรมการใช้หลักการผลิต Lean และหลักการบริหารทรัพยากรบุคคล HRM โดยหลักการ Lean จะเป็นตัวผลักดันให้การตัดสินใจต่างๆมีความใกล้ชิดกับพนักงานในโรงงานมากขึ้นผ่านทางการสร้างทักษะ การทำงานเป็นหมู่คณะ การตระหนักถึงคุณภาพมากกว่าปริมาณ ขณะที่ HRM จะเพิ่มความสามารถด้านการบริหารจัดการของโรงงาน และทำให้โรงงานเล็งความสำคัญของกำลังคนที่มีอยู่มากขึ้น
4. กีฬาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Sport for Social Change)
        ไนกี้ใช้กีฬาเป็นเครื่องมืออันทรงพลังเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา หลายฝ่ายยังไม่เห็นคุณค่าของกีฬาว่าสามารถสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการทางสังคมและผู้สร้างสรรค์ชุมชน ตลอดจนขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม หนึ่งในตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโครงการที่ไนกี้ได้ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ โครงการฟุตบอลรากหญ้า (Grassroot Soccer) ในแอฟริกา ซึ่งเป็นโครงการระดับชุมชนที่มุ่งแก้ปัญหาสังคมผ่านทางการสร้างจิตสำนักและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ด้วยการใช้กีฬาเป็นตัวกระตุ้นการติดต่อสื่อสารกับเด็กๆทั้งชายและหญิง
5. กลยุทธ์ด้านสภาพอากาศและพลังงาน (Energy and Climate Change Strategy)
        ในปี 2552 ไนกี้ได้ริเริ่มการจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือระหว่างบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งมีชื่อว่า Business for Innovative Climate and Energy Policy (BICEP) เพื่อสนับสนุนการจัดทำกฎหมายด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงานในสหรัฐ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์เทคโนโลยีและสาธารณูปโภคใหม่ๆที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
                นอกจากนั้น ในปี 2551 ไนกี้ยังได้เปิดตัวโครงการ footwear energy efficiency program ด้วยการเซ็นสัญญากับผู้ผลิต 5 ราย ความมุ่งมั่นของไนกี้ที่มีต่อโครงการนี้ได้สร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม กล่าวคือ โรงงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 6% แม้ว่าโรงงานจะดำเนินการผลิตเพิ่มขึ้น 9% ก็ตาม
ทั้งนี้ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของไนกี้เผยแพร่บนเว็บไซต์ nikeresponsibility.com ซึ่งจะให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของไนกี้เพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆ และทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทในปีงบการเงิน 2550 2551 และ 2552
               เกี่ยวกับไนกี้
         ไนกี้ อิงค์ (NYSE:NKE) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบีเวอร์ตัน รัฐโอเรกอน บริษัทออกแบบ ทำการตลาด และจัดจำหน่ายรองเท้ากีฬา เสื้อผ้าชุดกีฬา อุปกรณ์กีฬา และอุปกรณ์เสริมสำหรับกีฬาหลากหลายประเภท ตลอดจนการออกกำลังกายในฟิสเนต บริษัทในเครือซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลและบริหารงานของไนกี้ ได้แก่ บริษัทโคล ฮาน (Cole Haan) ผู้ออกแบบ ดูแลการตลาด และจัดจำหน่ายรองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ และเสื้อโค้ตที่โก้หรูดูภูมิฐาน, คอนเวิร์ส อิงค์ (Converse Inc.) ซึ่งดูแลการออกแบบ การตลาด และการจัดจำหน่ายรองเท้ากีฬา เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ, เฮอร์ลีย์ อินเตอร์เนชั่นแนล แอลแอลซี (Hurley International LLC) ผู้ออกแบบ ทำการตลาด และจัดจำหน่ายรองเท้า เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสำหรับการเล่นกีฬาผาดโผนหรือแอ๊กชั่นสปอร์ต ตลอดจนไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่น และ อัมโบร ลิมิเต็ด (Umbro Ltd.) แบรนด์รองเท้า เสื้อผ้า และอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลระดับโลกของอังกฤษ

กิจกรรมเพื่อสังคม Nike

ไนกี้” ชวนคนไทยร่วมจารึกประวัติศาสตร์ ระดับโลก “GAME ON WORLD

ผ่านนวัตกรรมการวิ่งรูปแบบใหม่ เพื่อแบ่งปันน้ำใจคืนสู่สังคม

 ไนกี้ ผู้นำนวัตกรรมกีฬาระดับโลก เปิดตัวแคมเปญทั่วโลก เกม ออน เวิลด์ (Game On, World) ปรากฎการณ์ที่เชิญชวนคนทั่วโลกร่วมวิ่งและบันทึกสถิติผ่าน ไนกี้ พลัส แอพพลิเคชั่น พร้อมเชิญชวนคนไทยพิชิตภารกิจ “Run to Give” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันน้ำใจให้แก่สังคมด้วยการวิ่งสะสมระยะทางผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เพื่อเปลี่ยนระยะทางการวิ่งทุก กิโลเมตร เป็นการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนที่วัดป่าท่านุ่น จังหวัดพังงา

แคมเปญ เกม ออน เวิลด์ (Game On World) เป็นแคมเปญระดับโลกที่ทางไนกี้ได้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อร่วมรณรงค์ให้ผู้ที่ชื่นชอบในการวิ่งได้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ประเทศของตนเองด้วยรูปแบบการวิ่งนวัตกรรมใหม่ที่เป็นการสะสมระยะทางการวิ่ง และแบ่งปันประสบการณ์เรื่องราวความสำเร็จของตนเองผ่าน ไนกี้ พลัส ในช่องทางต่างๆทั้ง ไนกี้ รันนิ่ง แอพพลิเคชั่น (Nike Running application) บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟน และระบบแอนดรอยด์   นาฬิกา ไนกี้ พลัส จีพีเอส    ไนกี้ พลัส สปอร์ตแบนด์ และไนกี้ พลัส ไอพ็อด 

“สำหรับประเทศไทย ไนกี้ยังได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด Run To Give เพื่อรณรงค์ให้นักวิ่งได้ร่วมตอบแทนสังคมด้วยการวิ่งสะสมระยะทางผ่านเครือข่ายออนไลน์ของไนกี้ เพื่อเปลี่ยนระยะทางการวิ่งทุก 1 กิโลเมตรเป็นมูลค่า 5 บาท เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้แก่โครงการกีฬาวัดป่าท่านุ่น จังหวัดพังงา  สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้หลายช่องทาง  หากมีสมาร์ทโฟน เพียงทำการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น  ไนกี้พลัส รันนิ่ง ที่ www.Nike.com จากนั้นออกวิ่งแล้วดาวน์โหลดระยะทางวิ่งลงในเว็บไซต์ nikerunning.in.th พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลการวิ่งบนFacebook หรือ twitter ของตนเองโดยต้องพิมพ์ต่อท้ายด้วย ##GAMEONWORLD#TH ซึ่งระบบจะทำการบันทึกระยะทางการวิ่งและนำไปรวมกับระยะทางการวิ่งของคนอื่นๆ ต่อไป”

กิจกรรมเพื่อสังคม nike

“ไนกี้”ชวนคนไทยร่วมจารึกประวัติศาสตร์โลก ผ่านนวัตกรรมการวิ่งรูปแบบใหม่ ปันน้ำใจคืนสู่สังคม

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ที่่โรงแรมเอ็มโพเรียม สูท ไนกี้ ผู้นำนวัตกรรมกีฬาระดับโลก เปิดตัวแคมเปญทั่วโลก เกม ออน เวิลด์ (Game On, World) ปรากฎการณ์ที่เชิญชวนคนทั่วโลกร่วมวิ่งและบันทึกสถิติผ่าน ไนกี้ พลัส แอพพลิเคชั่น พร้อมเชิญชวนคนไทยพิชิตภารกิจ “Run to Give” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันน้ำใจให้แก่สังคมด้วยการวิ่งสะสมระยะทางผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) เพื่อเปลี่ยนระยะทางการวิ่งทุก 1 กิโลเมตร เป็นการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนที่วัดป่าท่านุ่น จังหวัดพังงา

แคมเปญ เกม ออน เวิลด์ (Game On World) เป็นแคมเปญระดับโลกที่ทางไนกี้ได้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อร่วมรณรงค์ให้ผู้ที่ชื่นชอบในการวิ่งได้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ประเทศของตนเองด้วยรูปแบบการวิ่งนวัตกรรมใหม่ที่เป็นการสะสมระยะทางการวิ่ง และแบ่งปันประสบการณ์เรื่องราวความสำเร็จของตนเองผ่าน ไนกี้ พลัส ในช่องทางต่างๆทั้ง ไนกี้ รันนิ่ง แอพพลิเคชั่น (Nike Running application) บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอโฟน และระบบแอนดรอยด์   นาฬิกา ไนกี้ พลัส จีพีเอส    ไนกี้ พลัส สปอร์ตแบนด์ และไนกี้ พลัส ไอพ็อด 



นางสาวพิณรัตน์  ทัศนะพยัคฆ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไนกี้ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “แคมเปญ Game On World เป็นภารกิจที่ไนกี้ได้สานต่อจากการที่ ไนกี้ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมในกีฬาวิ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่ชื่นชอบการวิ่งทั่วโลกได้เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การวิ่งและพัฒนาศักยภาพของตัวเองผ่านนวัตกรรม ไนกี้ พลัส  ที่เป็นสังคมออนไลน์ที่นักวิ่งสามารถร่วมแบ่งปันขัอมูลไปพร้อมๆกับสมาชิก 8.5 ล้านคนทั่วโลก”

สำหรับประเทศไทย ไนกี้ยังได้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด Run To Give เพื่อรณรงค์ให้นักวิ่งได้ร่วมตอบแทนสังคมด้วยการวิ่งสะสมระยะทางผ่านเครือข่ายออนไลน์ของไนกี้ เพื่อเปลี่ยนระยะทางการวิ่งทุก 1 กิโลเมตรเป็นมูลค่า 5 บาท เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้แก่โครงการกีฬาวัดป่าท่านุ่น จังหวัดพังงา 

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้หลายช่องทาง  หากมีสมาร์ทโฟน เพียงทำการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น  ไนกี้พลัส รันนิ่ง ที่ www.Nike.com จากนั้นออกวิ่งแล้วดาวน์โหลดระยะทางวิ่งลงในเว็บไซต์ nikerunning.in.th พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลการวิ่งบน Facebook หรือ twitter ของตนเองโดยต้องพิมพ์ต่อท้ายด้วย ##GAMEONWORLD#TH และระบบจะทำการบันทึกระยะทางการวิ่งและนำไปรวมกับระยะทางการวิ่งของคนอื่นๆ ต่อไป”

นอกจากนั้น ไนกี้ยังมีแผนจะจัดกิจกรรมการรวมตัวของนักวิ่งเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการวิ่ง และเปิดให้ทดลองนวัตกรรมรองเท้าวิ่งรุ่นล่าสุด รองเท้าวิ่ง ไนกี้ ลูนาร์ไกลด์ พลัส 4\ (Nike Lunar Glide + 4)  ในวันที่ 18 และ 25 สิงหาคม เวลา 15.30 – 17.00 น. ที่ร้านไนกี้ ห้างสรรพสินค้า เทอร์มินอล 21 

โดยรองเท้ารุ่นดังกล่าวเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่โดดเด่นของ ไนกี้ ฟลายไวร์ (Nike Fly wire) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจากการสร้างสรรค์รองเท้าวิ่งให้กับนักวิ่งระดับโลก กับเทคโนโลยี ไดนามิค ซัพพอร์ท (Dynamic Support) ที่ทำให้ตัวรองเท้ามีน้ำหนักเบาและช่วยรองรับแรงกระแทกที่เหมาะสำหรับนักวิ่งที่ต้องการวิ่งเพื่อความผ่อนคลาย และการวิ่งทำความเร็วเพื่อสร้างสถิติให้กับตัวเองอีกด้วย

กิจกรรมเพื่อสังคม Nike


Nike Grind

พื้นผิว Playtop ที่มีส่วนผสมของเม็ดยาง Nike Grind
พื้นผิว Playtop ที่มีส่วนผสมของเม็ดยาง Nike Grind
      พื้นผิวดูดซับแรงกระแทก Playtop มีเอกลักษณ์ที่พิเศษโดดเด่น เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้เด็กทั่วโลกได้มีพื้นผิวสนามเด็กเล่นที่ปลอดภัยเท่านั้น หากแต่ยังทำด้วยวัสดุรีไซเคิลจากยางรถยนต์และรองเท้ากีฬาด้วย
 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์พื้นผิวดูดซับแรงกระแทก Playtop เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ใช้วัสดุรีไซเคิล Nike Grind จากรองเท้ากีฬาที่ไม่ใช้แล้ว พื้นผิวสนามเด็กเล่นสีดำของ Playtop ที่ประกอบด้วย Nike Grind จะมีวัสดุรีไซเคิลคิดเป็นปริมาณสูงถึง 92% และพื้นผิวทุกตารางเมตรจะมียางที่ได้มาจากรองเท้ากีฬาประมาณ 12 คู่ กับยางรถยนต์ 1 อัน การนำเม็ดยางที่ผลิตจากยางรถยนต์และรองเท้ากีฬามาใช้ให้เป็นประโยชน์ช่วยลดขยะของเสียประเภทรองเท้าหรือยางรถยนต์ที่ไม่ต้องการแล้วลงได้มาก
                 Nike มีปณิธานในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเพื่อลดขยะของเสียที่ไม่จำเป็น Nike จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการ Reuse-A-Shoe ขึ้นมาในอังกฤษเมื่อปลายปีค.ศ. 2004 หลังจากที่โครงการนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในสหรัฐอเมริกา
               Nike จะรวบรวมรองเท้ากีฬาเก่า (ทุกยี่ห้อ) จากศูนย์เก็บรองเท้าเก่าทั่วประเทศอังกฤษ แล้วนำไปแปรรูปเป็นวัสดุเม็ดยางรีไซเคิลที่เรียกว่า Nike Grind
             วัสดุ Nike Grind จะถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในพื้นผิวสนามเด็กเล่น Playtop และ Playtop จะชำระเงินเป็นค่าตอบแทนให้แก่โครงการ ‘Let Me Play' ซึ่งเป็นโครงการรับผิดชอบต่อสังคมของ Nike
โครงการลงทุนเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้การเล่นและการกีฬายังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม โครงการนี้จะช่วยเหลือให้เงินสนับสนุนการจัดทำพื้นผิวสนามเด็กเล่นและสนามกีฬาในโรงเรียนและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนหรือชุมชนที่ด้อยโอกาสหรือที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ